ละมุ ๒ หมายถึง (ถิ่น–อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.
น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Manilkara วงศ์ Sapotaceae ผลสุกรสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [M. zapota (L.) P. Royen] ผลสุกสีนํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [M. kauki (L.) Dubard] ผลสุกสีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่าขนุนละมุด. (ดู ขนุน ๑).
ว. อ่อนนุ่ม, นุ่มนวล, เช่น ผ้ากำมะหยี่เนื้อนิ่มละมุนมือ.
ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุนละม่อม.
ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ละมุนละไมข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
น. ชนชาวเขาจําพวกข่า อยู่ทางแคว้นสิบสองจุไทย.
ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่าหลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่าเกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.